วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566

มทบ.37 จัดกำลังพล เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เชียงราย ทำการสร้างฝายชะลอน้ำแบบคอกหมูบริเวณลำห้วยขุนน้ำคำ  ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จว.ช.ร.

เมื่อ 19 ส.ค. 66 เวลา 0900 ร.ต. ไพบูลย์   สายหงษ์หน.ชุดประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง บ้านธารทอง พร้อมด้วยกำลังพลร่วมกับ เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เชียงราย ทำการสร้างฝายชะลอน้ำแบบคอกหมูบริเวณลำห้วยขุนน้ำคำ  ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จว.ช.ร. เพื่อชลอน้ำทำให้พื้นที่ป่าเกิดความชุ่มน้ำลดปัญหาการเกิดไฟป่าในอนาคต ในพื้นที่รับผิดชอบของ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านธารทอง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย











วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"กลโกง มิจฉาชีพ""สืบนครบาล และ สืบ111"

จับกุมตัว นายอนุศักดิ์หรือบิว เจ้าของบัญชีธนาคารจำนวนมากที่ถูกใช้สำหรับการรับโอนเงินจากผู้เสียหายโดยการหลอกโอนเงินหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการหลอกให้ลงทุน ชักชวนหารายได้เสริม เพจลงทุนปลอม รวมถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จนสร้างความเสียหายกว่าสิบล้านบาท ทั้งนี้นายบิวอ้างว่า เปิดบัญชีให้เพื่อนเพื่อใช้เล่นพนันออนไลน์รับโบนัสเพิ่ม ไม่ได้ค่าตอบแทนแต่อย่างใด” ตามนโยบายของ "พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์" ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ ที่สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยผู้เสียหายได้ร้องเรียนมายังเพจสืบนครบาล IDMB ให้ช่วยจับกุมนาย อนุศักดิ์ มาเพชร ซึ่งเป็นตัวการในการฉ้อโกง

  จากการตรวจสอบประวัติในฐานข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า ปัจจุบัน นายอนุศักดิ์ มาเพชร มีหมายจับที่ต้องการตัวเพื่อดำเนินคดี จำนวน 7 หมายจับ ได้แก่ 

1) หมายจับที่ 336/2566 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2566 

ข้อหา ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกประชาชน,พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

2) หมายจับที่ 271/2566 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ลงวันที่ 8 พ.ค. 2566

ข้อหา ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกงประชาชน,ร่วมกันในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

3) หมายจับที่ 375/2566 ของศาลอาญามีนบุรี ลงวันที่ 5 เม.ย. 2566

ข้อหา ร่วมกันในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน,ร่วมกันในข้อหาฉ้อโกง

4) หมายจับที่ 124/2566 ของศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 20 มี.ค. 2566

ข้อหา ร่วมกันในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

5) หมายจับที่ 304/2565 ของศาลจังหวัดนครสวรรค์ ลงวันที่ 1 พ.ย. 2565

ข้อหา ตัวการในข้อหาฉ้อโกง,ตัวการในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

6) หมายจับที่ 430/2565 ของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ลงวันที่ 7 ต.ค. 2565

ข้อหา ตัวการในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

7) หมายจับที่ 176/2565 ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ข้อหา ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฯ”

 "พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์" ผบก.สส.บช.น. จึงกำชับนักเรียนสืบสวนหลักสูตรการคดีอาญา รุ่นที่ 111 ชุดปฏิบัติการที่ 9 ที่เพิ่งเข้ามาฝึกงานภาคปฏิบัติ พร้อมด้วยครูพี่เลี้ยง กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. ให้เร่งสืบสวนติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีโดยเร็ว เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 15.00 น.  "พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง" ผบช.น., "พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์" รอง ผบช.น. , "พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์" ผบก.สส.บช.น. "พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง" รอง ผบก.สส.บช.น.,  " พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล" ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์, พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฏศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ธีวร์ราธิป ชูดวง พ.ต.ท. พิทักษ์ ศรีกระแจะ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 2 และ 3 กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. พร้อมนักเรียนหลักสูตรการสืบสวนคดีอาญา รุ่นที่ 111 ชุดปฏิบัติการที่ 9

ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายอนุศักดิ์ มาเพชร อายุ 35 ปี (ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เลขที่ 25/244 ซอยพหลโยธิน 48 แยก 17/1 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดมีนบุรี ที่ 375/2566 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 

ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”  โดยสามารถจับกุมตัวได้ที่บริเวณหน้าที่ห้องพักเลขที่ 25/249 อาคารห้องชุดบ้านสวนบางเขน แขวง อนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานครในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา พฤติการ์ณคดีการกระทำความผิด ก่อนหน้าที่จะถูกจับกุมในคดี 7 หมายในครั้งนี้ นายอดิศักดิ์หรือนายบิว ได้เคยถูกจับกุมมาก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2565 จำนวน 3 หมายจับ ที่ สภ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีมูลค่าความเสียหาย 90,000 บาท, สภ.ลำพูน มูลค่าความเสียหาย 80,000 บาท และ สน.คันนายาว มูลค่าความเสียหาย 1,400,000 บาท ซึ่งนายบิวได้ขอประกันตัวในชั้นศาลในเวลาต่อมา จนต่อมา นายอดิศักดิ์ ได้ถูกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีอาญาอีก 7 หมาย โดยมีพฤติการณ์ในคดีที่คล้ายคลึงกับที่ถูกจับกุมเมื่อปี 2565 ซึ่งบัญชีธนาคารของนายอดิศักดิ์ นั้นได้ถูกใช้เป็นบัญชีรับโอนเงินจากผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพไม่ว่าจะเป็นคอลเซ็นเตอร์ เพจลงทุนปลอม ชักชวนให้หารายได้เสริม ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนเป็นมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท

เมื่อถูกจับกุม นายอนุศักดิ์ มาเพชร  ผู้ต้องหา ให้การว่าในช่วงต้นปี 65 ได้ทำการเปิดบัญชีในหลายธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกร, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารกรุงศรี, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี และธนาคารออมสิน โดยจะเปิดบัญชีในแต่ละธนาคารละ 4 ถึง 5 บัญชี ผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ เมื่อเปิดแล้วจึงส่งมอบบัญชีให้ นายสมศักดิ์ สาโรจน์ ทั้งหมด โดยไม่ทราบว่านายสมศักดิ์ฯ มีความประสงค์ที่จะเอาไปจำหน่ายหรือนำไปกระทำผิดกฎหมาย จากนั้นจึงได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องนำส่ง พงส. สน.บางชัน ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ด้าน "พล.ต.ต.ธีรเดช" กล่าวแจ้งเตือนภัยไปยังพี่น้องประชาชนว่าในสังคมปัจจุบัน มิจฉาชีพมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงมากมายหลายรูปแบบ ขอให้ประชาชนได้โปรดใช้สติในการใช้ชีวิตในสังคม อย่างหลงเชื่อกลโกง หรือสินค้าที่มีราคาถูกเกินกว่าราคาและคุณภาพที่ควรจะเป็น เนื่องจากมิจฉาชีพมักใช้ความโลภเห็นแก่ผลกำไรมาเป็นจุดล่อใจให้ประชาชนหลงกล  ควรมีสติวิเคราะห์ถึงพฤติกรรม กลโกง หากไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่าบุคคลที่เข้ามาเสนอผลประโยชน์ เสนอขาย หรือชักชวนลงทุนในด้านต่างๆ นั้นจะเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบ หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด มายังเพจ “สืบนครบาล IDMB” ได้ตลอด 24 ชม. แม้จะเป็นคดีที่มีความเสียหายไม่มาก แต่หากเป็นคดีที่ประชาชนเดือดร้อน เราทำทันที ตามนโยบายของ "พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์" ผบ.ตร.


ทีมข่าว อาชญากรรม    ต้อม สิงห์๑ รายงาน ข่าว 

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สทนช. เตรียมพร้อมรับมือฝน ปี 66 พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน จ.พิจิตร ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566

วันนี้ (17 ส.ค.66) นาย ชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่บึงสีไฟ จ.พิจิตร เพื่อติดตามการพัฒนาและเก็บกักน้ำ และติดตามการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือ ฤดูฝน ปี 2566 และ 3 มาตรการรับมือ ฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งบึงสีไฟเป็นแหล่งน้ำสำคัญในผังน้ำลุ่มน้ำน่าน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 1 ใน 8 ของพื้นที่ชุ่มน้ำภาคเหนือที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าหลวง ต.โรงช้าง ต.คลองคะเชนทร์ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.พิจิตร มีพื้นที่ประมาณ 5,390 ไร่ และมีสภาพตื้นเขินบางส่วน โดยปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูบึงสีไฟ ให้เป็นพื้นที่ชะลอและรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝน ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ได้ในช่วงฤดูแล้ง พร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติผ่านคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและแม่น้ำลำคลอง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 ถึงปัจจุบัน น้อย


กว่าค่าปกติร้อยละ 18 และในพื้นที่ภาคเหนือน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 27 สำหรับสถานการณ์น้ำ ณ ปัจจุบัน
ของ จ.พิจิตร มีแหล่งน้ำขนาดกลาง 1 แห่ง คือ บึงสีไฟ มีปริมาณน้ำรวมอยู่ที่ 11.4 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น
ร้อยละ 90.19 ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่า ปี 65 จำนวน 1.23 ล้าน ลบ.ม. จากการตรวจสอบไม่พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภค และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร ทั้งนี้ รองเลขาธิการฯ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ 3 มาตรการอย่างเคร่งครัด และกำชับทุกหน่วยงานเตรียมแผนการรับมือ
จากสถานการณ์เอลนีโญเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ทันกับสถานการณ์
รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการลงพื้นที่ บึงสีไฟสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 12.64 ล้านลูกบาศก์เมตร และการบริหารจัดการน้ำของบึงสีไฟ เพื่อรักษาระบบนิเวศและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ซึ่งมีแผนงานโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำบึงสีไฟเพื่อการเกษตรประมาณ 7,500 ไร่ ส่วนการปรับปรุงภูมิทัศน์บึงสีไฟให้สวยงามนั้น ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรและเทศบาลเมืองพิจิตร “พื้นที่ลุ่มน้ำน่านในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำท่วม อยู่ในรหัสโซนพื้นที่ทางน้ำหลาก และบางส่วนอยู่ในรหัสโซนพื้นที่น้ำนอง ซึ่ง สทนช. เสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ป้องกันการพัฒนา ที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม นอกจากนี้ ผังน้ำ ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจในการสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ไม่ให้อยู่ในพื้นที่น้ำหลากหรือ กีดขวางทางระบายน้ำรวมถึงควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในขอบเขตพื้นที่ตามระบบทางน้ำที่ได้กำหนดแนวเขตไว้ โดยผังน้ำจะกำหนดขอบเขตชัดเจนว่า บริเวณใดเป็นพื้นที่สงวนไว้ให้ทางน้ำโดยเฉพาะ ไม่มีสิ่งกีดขวางตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ขณะนี้การจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำน่าน ได้ดำเนินการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้วเสร็จ และจะนำไปรับฟังความคิดเห็นเป็นครั้งสุดท้ายต้นเดือนกันยายน 2566”


























 


กรมทางหลวง เดินหน้าฟังเสียงชาวพิจิตร รอบ 2 ปรับปรุงถนน ช่วง อ.บางมูลนาก – บ.โพทะเล เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง

วันนี้ (17 สิงหาคม 2566) เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมเทพหงษ์ทอง วิทยาลัยชุมชนพิจิตร จังหวัดพิจิตร กรมทางหลวงได้จัดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (การสัมมนา ครั้งที่ 1) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 1067 ช่วงอำเภอบางมูลนาก - บ้านโพทะเล เพื่อนำเสนอสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมทั้งเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจาก ทุกภาคส่วน สำหรับนำมาพิจารณาออกแบบรายละเอียดถนนโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก นายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

การจัดประชุมในครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาโครงการ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ สำหรับพื้นที่ศึกษาโครงการมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1067 ประมาณ กม.1+050 อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอ


บางมูลนาก และจุดสิ้นสุดโครงการอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1067 ประมาณ กม.15+400 อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอโพทะเล ระยะทางรวมประมาณ 14.350 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพิจิตร จำนวน 2 อำเภอ รวม 4 ตำบล ประกอบด้วย อำเภอบางมูลนาก มี 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลหอไกร และตำบลเนินมะกอก อำเภอโพทะเล มี 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพทะเล และตำบลท่าบัว โดยปัจจุบันแนวเส้นทางโครงการเป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใช้ขนส่งสินค้าการเกษตรในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเส้นทาง เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ที่ปรึกษาโครงการฯ จึงขอนำเสนอรูปแบบการพัฒนาถนนโครงการขนาด 4 ช่องจราจร ทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบทางเลือกที่ 1 แบบเกาะกลางแบบดินถม (Raised Median) รูปแบบทางเลือกที่ 2 แบบเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง (Depressed Median) รูปแบบทางเลือกที่ 3 แบบเกาะกลางแบบกำแพง (Barrier Median) ซึ่งจากการพิจารณาคัดเลือกรูปแบบทางเลือกการพัฒนาถนนของโครงการที่เหมาะสมที่สุด สามารถสรุปได้ดังนี้ 

รูปแบบทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ในเขตชุมชน ได้แก่ รูปแบบที่ 1 แบบเกาะกลางดินถม (Raised Median) เนื่องจากมีความปลอดภัยในการกลับรถ เพราะสามารถใช้เกาะกลางทำเป็นช่องจราจรสำหรับกลับรถได้ ซึ่งรถที่รอกลับรถจะเบี่ยงออกจากช่องจราจรทางตรง และเหมาะกับบริเวณที่ด้านข้างทางเป็นชุมชนที่มีการข้ามถนนมาก เพราะสามารถใช้เป็นที่พักของคนเดินข้ามถนนได้สะดวกและปลอดภัย

รูปแบบทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ในเขตนอกชุมชนมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบที่ 3 แบบเกาะกลางแบบกำแพง (Barrier Median) เนื่องจากมีการบำรุงรักษาต่ำ มีการป้องกันการชนแบบประสานงานได้ดี ก่อสร้างได้เร็ว ติดตั้งได้ง่าย

สามารถรองรับความเร็วของผู้ใช้ทางได้ดี ใช้พื้นที่เกาะกลางน้อย ลดปัญหาแสงไฟหน้ารถ (Antiglare) ของการจราจรของรถที่แล่นสวนทางกันในเวลากลางคืน

  ทั้งนี้จากการสำรวจสะพานเดิมตลอดแถวเส้นโครงการ พบว่า มีจำนวนสะพานตลอดแนวเส้นโครงการ จำนวน 

15 สะพาน จึงได้กำหนดโครงสร้างสะพาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะพื้นที่และช่วงความยาวสะพาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

ประเภทที่ 1 โครงสร้างสะพานข้ามลำน้ำช่วงสั้น (ช่วงสะพานไม่เกิน 15 เมตร) โดยคัดเลือกรูปแบบมา 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.สะพานแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ (R.C.Slab Bridge) 2.สะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Box Bridge) 3.สะพานแบบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป (P.C.Plank Girder) 

ซึ่งจากการพิจารณาคัดเลือกโครงสร้างสะพานข้ามลำน้ำช่วงสั้น (ช่วงสะพานไม่เกิน 15 เมตร) พบว่ารูปแบบสะพานที่เหมาะสมที่สุด แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้  โดยช่วงสะพานความยาวไม่เกิน 10 เมตร รูปแบบโครงสร้างสะพานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ สะพานแบบพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป (P.C.Plank Girder) เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อยและก่อสร้างได้ง่าย และมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อย ส่วนช่วงสะพานความยาว 10-15 เมตร รูปแบบโครงสร้างสะพานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ สะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Box Beam) เนื่องจากมีความเหมาะสมในด้านรูปแบบของโครงสร้างมากกว่าโครงสร้างสะพานแบบพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป ในกรณีที่ช่วงสะพานเกิน 10 เมตร

ประเภทที่ 2 โครงสร้างสะพานข้ามลำน้ำช่วงยาว (ช่วงสะพานตั้งแต่ 16-30 เมตร) โดยคัดเลือกรูปแบบมา 

3 รูปแบบ ดังนี้ 1.สะพานแบบคานคอนกรีตรูปตัวไอ (I-Girder Bridge) 2.สะพานแบบ Box Beam Bridge 3.สะพานแบบคานคอนกรีตรูปตัวยู (U-Shape Girder Bridge) ซึ่งจากการพิจารณาคัดเลือกโดยรูปแบบโครงสร้างสะพานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ สะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงสูงรูปตัวไอ (I-Girder Bridge) เนื่องจากก่อสร้างได้เร็ว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ทำการออกแบบจุดกลับรถไว้ 2 ประเภท คือ จุดกลับรถระดับพื้นและจุดกลับรถ ใต้สะพาน ซึ่งจุดกลับรถระดับพื้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ แบบนอกเขตชุมชน : เป็นจุดกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยวและมีไหล่ทางไว้รองรับรถบรรทุก เป็นรูปแบบเกาะกลางแบบดินถม (Raised Median) จำนวน 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร สามารถรองรับรถบรรทุกขณะกลับรถได้ แบบในเขตชุมชน : เป็นรูปแบบเกาะกลางแบบดินถม (Raised Median) จำนวน 8 ช่องจราจร ทิศทางละ 4 ช่องจราจร สามารถรองรับรถบรรทุกขณะกลับรถได้ ส่วนจุดกลับรถใต้สะพาน ได้แก่ จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำยม ขนาด 1 ช่องจราจร เฉพาะรถที่ความสูงไม่เกิน 3.50 เมตร สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ที่ปรึกษาได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ สำรวจและเก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE โดยมีประเด็นที่ศึกษาครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดลอมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งจะนำไปศึกษาต่อในขั้นรายละเอียด (EIA) เพื่อเตรียมกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมครั้งนี้ กรมทางหลวง และที่ปรึกษาโครงการฯ จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาและออกแบบรายละเอียดของโครงการให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง โดยมีกำหนดจัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน 2566 และการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาในทุกด้านให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์ www.ทล1067-บางมูลนาก-โพทะเล.com 2.แฟนเพจเฟซบุ๊ก : ทล1067-บางมูลนาก-โพทะเล และ 3.Line Official : บางมูลมาก-โพทะเล















อู๊ด วิศว  ภาพข่าว