วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

“อลงกรณ์” ขานรับข้อเสนอภาคเอกชนร่วมเดินหน้า”ก้าวใหม่ประเทศไทย ก้าวใหม่ประชาธิปัตย์”ชูธง 12 แนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาสร้างศักยภาพใหม่ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทยภายใต้ยุทธศาสตร์”สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ”


นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคฯ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์  กล่าวถึงความเห็น และข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ที่มีต่อความคาดหวังในนโยบายของพรรคการเมืองวันนี้(23 มีนาคม 2566)ว่า  พรรคประชาธิปัตย์เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนรวมทั้งมุมมองวิสัยทัศน์ของภาคเอกชนล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์บนหลักการ 3 ประการคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

   “พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจในความคาดหวังของภาคเอกชนที่มีต่อนโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งในส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางนโยบายอย่างน้อย 12 ประการ เสมือนคานงัดในการสร้างจุดเปลี่ยนประเทศไทย สู่”ก้าวใหม่ ไทยแลนด์”โดยพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชน ได้แก่

1. การพัฒนาการเมือง 

    โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

2. การขจัดคอร์รัปชั่น 

    โดยการสร้างระบบธรรมาภิบาล

3. การส่งเสริมการแข่งขันทางการ

    ค้าที่เสรี และเป็นธรรม ลดการ

    ผูกขาดทางเศรษฐกิจ และพลัง

    งาน

4. การปฏิรูประบบราชการ

    โดยลดอำนาจรัฐ ลดขนาด

    ภาครัฐ 

▪มุ่งกระจายอำนาจและทรัพยากร

    สู่ท้องถิ่นและชุมชน 

    (Community Empowerment) 

▪การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและ

    ชุมชนท้องถิ่นทางเศรษฐกิจ

▪การพัฒนาเมือง และชนบท

5. การปฏิรูปภาคเกษตร 

    ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม 

▪การส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและ

    เกษตรอินทรีย์ 

▪การยกระดับเกษตรรายย่อยเป็น

    เกษตรแปลงใหญ่ 

▪การพัฒนาระบบสหกรณ์ 

▪การส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตร

    และ เอสเอ็มอี.เกษตร 

▪การส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต

▪และการทำตลาดเชิงรุก ทั้ง

    ออนไลน์และออฟไลน์

6. การพัฒนาโลจิสติกส์ 

    เชื่อมไทย-เชื่อมโลก 

▪การเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจภาย

    ในประเทศและต่างประเทศ

7. การสร้างฐานการผลิต การแปร

    รูปการตลาด และกระจายการ

    ลงทุนสู่ทุกภูมิภาค

▪ภายใต้ฐานใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด

    โดยเฉพาะคลัสเตอร์อุตสาห

    กรรมเกษตร (Agroindustry)

8. การสร้างคนและการ Reskill-

    Upskill ตรงตามความต้องการ

    ของตลาดแรงงาน

▪โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหม่

    (12  S-Curves)

▪การส่งเสริมMSMEและStartup 

    ด้วยกองทุนเอสเอ็มอี.

▪และการทำงานแบบสร้างสรรค์

9. สร้างระบบธนาคาร และระบบ

    การเงินของเศรษฐกิจฐานราก

    ด้วย

▪ธนาคารหมู่บ้าน 

▪ธนาคารชุมชน 80,000 หมู่บ้าน 

    และชุมชน 77 จังหวัด 

▪รวมทั้งส่งเสริมธนาคารเพื่อการ

    ลงทุนและเวนเจอร์แคปิตอล

10. ขับเคลื่อนภาคการผลิต (Real 

       Sector) ภาคบริการภาคการ

       ท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี นวัต

       กรรมและซอล์ฟพาวเวอร์

       (Soft Power)

11. การปฏิรูปการบริการภาครัฐ

  ▪โดยปรับปรุง และยกเลิก

      กฎหมาย กฎระเบียบ ที่เป็นอุป

      สรรค และภาระทางการค้า

      ธุรกิจและการบริการประชาชน

12. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก

      ข้อตกลงเขตการค้าการลงทุน

      เสรี (FTA) และกลยุทธ์มินิ เอฟ

      ทีเอ.(Mini FTA)ที่มีอยู่เดิมและ

      ข้อตกลงใหม่

  ▪ปูทางสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบ

      การของไทยในเวทีแข่งขันระ

      หว่างประเทศ

  ▪พร้อมกับการใช้กองทุน เอฟที

      เอ.รองรับผลกระทบทุกด้าน

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นโยบายเหล่านี้เป็นการสานงานต่อ ก่องานใหม่ อย่างต่อเนื่อง ของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น 

▪การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร

    และนวัตกรรม 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิฟเฉพาะด้าน 23 ศูนย์

▪เป็นโครงสร้างทางเทคโนโลยี 

    และองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อส่ง

    เสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) 

    ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 

▪เกิดเทคโนโลยีใหม่ 800 นวัต-

    กรรมถ่ายทอดสู่เกษตรกรและ

    ฟาร์มเกษตร

▪การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรม

    เกษตรอาหารใน 18 กลุ่มจังหวัด

    บนความร่วมมือกับสภาอุตสาห

    กรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) 

▪การยกระดับเกษตรรายย่อยเป็น

    เกษตรแปลงใหญ่ 1 หมื่นกลุ่ม 

▪การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต

    เช่น โปรตีนจากพืช จากแมลง

    มีกว่า 1 แสนฟาร์ม 

▪การขับเคลื่อนนโยบายดิจิตอล

    ทรานสฟอร์เมชั่น 

    (Digital Transformation) 

▪ปฏิรูปกระทรวงเกษตร เพื่อเพิ่ม

    ประสิทธิภาพการบริหารราชการ

    แผ่นดิน และการบริการประชา

    ชนจากอนาล็อค เป็นดิจิตอล

▪การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลบิ๊กดาต้า

    เกษตรแห่งชาติ (National Big 

    Data Center:NABC) ตั้งแต่

    เดือนมีนาคม 2563 

▪การพัฒนาโลจิสติกส์ด้วยรถไฟ

    จีน-ลาว เปิดบริการขนส่งสินค้า

    ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2565 

▪การปฏิรูประบบบริหารจัดการ

    ผลไม้ จนส่งออกทุเรียนผลสด

    สร้างรายได้ทะลุ 1 แสนล้าน

    เป็นครั้งแรกในปี 2564 

    การประกันรายได้เกษตรกรพืชเศรษฐกิจหลัก ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน

▪การทำเงินให้ประเทศจากการส่ง

    ออกเกือบ 10 ล้านล้านบาท ทำ

    ให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่ง

    ออกสินค้าเกษตร และอาหารอัน

    ดับ 13 ของโลก ในปีที่ผ่านมา

ทั้งหมด คือ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของงานที่ ทำได้ไว ทำได้จริง ในช่วง

4 ปีที่ผ่านมา

“เรายังต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และนโย

บายใหม่ๆ รวมทั้งการปฏิรูประบบเศรษฐกิจดั้งเดิม พร้อมกับสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่

เป็นเครื่องยนต์แห่งการเติบโตใหม่ (New Growth Engine) ที่ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย ได้แก่

1. เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ 

    (12 S-Curves)

2. เศรษฐกิจสีเขียว

    (Green Economy)

    โมเดล BCG

3. เศรษฐกิจดิจิตอล 

    (Digital Economy) 

4. เศรษฐกิจสร้างสรรค์

    (Creative Economy) 

5. เศรษฐกิจสูงวัย 

    (Silver Economy) 

6. เศรษฐกิจเพื่อสังคม 

    (Social Economy) 

7. เศรษฐกิจคาร์บอน

    (Carbon Economy)

เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลดโลกร้อน 

ระบบเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้เป็น

เครื่องยนต์แห่งการเติบโตใหม่ 

(New Growth Engines) 

โดยมีอย่างน้อย 12 คานงัด เป็นกลไกการพัฒนาใหม่ๆ จะทำให้นโยบาย และแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ "ยุคอุดมการณ์-ทันสมัย” 

สามารถทำให้ประเทศไทย ก้าวสู่ประเทศไทยรายได้สูง แก้ปัญหาหนี้สินความยากจน และพร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาปัจจุบัน และความท้าทายใหม่ในอนาคต

เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้คนไทย และสร้างศักยภาพใหม่ให้ประเทศไทย ทั้งวันนี้ และวันหน้า” นายอลงกรณ์ กล่าวในที่สุด.

#ทำได้ไว 

# ทำได้จริง  

#พรรคประชาธิปัตย์








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น