จ.อุตรดิตถ์ สภาวัฒนธรรมตำบลฝายหลวงพร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอลับแล ร่วมสืบสานประเพณีสลากสลอม ค้างบูยาเพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม
วันที่ 11 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2565 ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ที่วัด ท้องลับแล ม.10 ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สภาวัฒนธรรม ต.ฝายหลวง อ.ลับแล และชาวพุทธในพื้นที่ทุกเพศทุกวัย กว่า 500 คน พร้อมใจร่วมทำบุญในพีธี "ค้างบูยา"เพื่อถวายแด่พระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติบรรพบุรุษ โดยเริ่มแห่ขบวนชะลอมยักษ์และชะลอมเล็กจากด้านหน้าตลาดวัดท้องลีบแล แล้วแห่รอบ อุโบสถ ภายในวัด 3 รอย หลังจากนั้นก็ได้นำ ชะลอมยักษ์ และชะลอมเล็ก ประกอบพิธีตามประเพณีสลากชะลอมก้างบูยาเพื่อทานไปหาญาติบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยจะมีครัวทานในชะลอมประกอบด้วยอาหารของกินผลไม้ข้าวนํ้าและขนมพื้นบ้านของชาวอำเภอลับแลนั่นก็คือขนมเทียนขนมแหนบและข้าวต้มมัดนำมาถวายให้พระสงฆ์ในแต่ละวัดโดยพระสงฆ์จะอุปโลกน์เวนครัวทานทั้งหมดที่คณะศรัทธานำมาถวายเพื่ออุทิศให้ญาติบรรพบุรุษสืบต่อไป
สำหรับประเพณีค้างบูยา จัดขึ้นทุกวันพระ สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปยังวัดต่างๆ ตลอดช่วงเเข้าพรรษา ซึ่งค้างบูยา มาจากก๊าง ที่แปลว่ากิ่ง และบูยา คือ การนำยาเส้นมาแขวนไว้ที่ก๊าง เปรียบเหมือนต้นกัลปพฤกษ์ที่มีของกินของใช้ ห้อยแขวนประดับให้ดูสวยงาม ทั้งสมุด ดินสอ ปากกา ขนมช้าง ขนมปลา บนยอดค้างประดับด้วยดอกไม้กระดาษ และตัวหงส์ใบลานคาบธนบัตร ด้านล่างเป็นกระจาดใส่ พืชไร่ พืชสวน ตามที่หาได้ เช่น ทุเรียน ลางสาด ลองกอง ส้ม กล้วย หมาก และยังประดับด้วยดอกไม้กระดาษให้ดูสวยงาม เป็นการอวดฝีมือของเจ้าของค้าง ประเพณีนี้ยังมีการทำขนมโบราณ อาทิ ข้าวต้ม ขนมแหนบ ขนมเทียน ขนมแตง เพื่อแจกจ่ายแบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง เรียกเทศกาลขนมพี่ขนมน้อง ทำควบคู่ไปกับประเพณีทานสลากชลอม โดยชาวบ้านจะจัดทำชะลอมขนาดเล็กเท่ากับจำนวนคนในบ้าน ภายในกรุด้วยใบตอง ใส่ข้าวเปล่า อาหาร ผลไม้ ขนม และหมากพลู เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวลับแลร่วมอนุรักษ์สืบสานมานานกว่า 100 ปี
นาคา คะเลิศรัมย์ / รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น