วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เกษตรกรเฮ!!! “จุรินทร์” พบบริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของซาอุชื่อ”ซาบิค” เจรจานำเข้าได้อีก 1 แสนตันในเดือนสิงหาคม


เกษตรกรเฮ!!! “จุรินทร์” พบบริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของซาอุชื่อ”ซาบิค” เจรจานำเข้าได้อีก 1 แสนตันในเดือนสิงหาคม 

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 8.30 น.นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมด้วยผู้แทนภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการ พบหารือกับผู้บริหารบริษัท SABIC (Saudi Basic Industries Corporation) Mr.Yousef Abdullah Al-Benyan ตำแหน่ง CEO บริษัท SABIC และคณะ ที่บริษัท SABIC ประเทศซาอุดิอาระเบีย วานนี้(30 ส.ค.65)

                       

นายจุรินทร์ กล่าวว่า SABIC ถือเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย หารือกับ CEO ของ SABIC ซึ่งบริษัทนี้ทำธุรกิจหลายด้านโดยเฉพาะปิโตรเคมี ปุ๋ย เคมีภัณฑ์และอื่นๆทั้งอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้ว 50 ปี ถือเป็นอันดับหนึ่งในตะวันออกกลาง ค้าขายกับ 50 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือว่าเป็นหนึ่งในนั้น และหลังจากฟื้นความสัมพันธ์ บริษัท SABIC ให้ความสัมคัญกับประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย

ในเรื่องของปุ๋ยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต้องการอำนวยความสะดวกการเจรจา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าปุ๋ยจากซาอุดีอาระเบียได้มากขึ้น อย่างน้อยนโยบายของตนตราบเท่าที่การแก้ปัญหาเรื่องราคาไม่ได้เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากและปุ๋ยทำจากแก๊สธรรมชาติ เมื่อราคาแก๊สในตลาดโลกยังสูง ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย ซึ่งเราต้องนำเข้าปุ๋ยเกือบ 100% ต้นทุนการนำเข้าปุ๋ยในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามราคาปุ๋ยในตลาดโลกและราคาแก๊สในตลาดโลก รวมทั้งการขนส่งปุ๋ยเข้ามาต้องใช้น้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยในประเทศมีราคาสูง แต่ในประเทศเราต้องแก้ปัญหา 2 ข้อ 1.เรื่องราคา 2.เรื่องปริมาณต้องไม่ให้ขาดแคลนสำหรับความต้องการใช้ของเกษตรกร

เรื่องราคาเราแก้ไขด้วยการจัดทำโครงสร้างราคาใหม่ โดยกรมการค้าภายในเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทำเสร็จแล้วสอดคล้องกับต้นทุนที่เป็นจริงในการนำเข้า โดยดูจากใบอินวอยด์จริง ซื้อขายจริง ให้ยุติธรรมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้ปลายทางและผู้นำเข้า  

เรื่องปริมาณตอนนี้ถือว่าแก้ปัญหาลุล่วง เราเร่งเจรจากับซาอุดีอาระเบียนำเข้าปุ๋ย ซึ่งขณะนี้ทำสัญญาซื้อขาย นำเข้าปุ๋ยได้แล้วถึงเดือนกรกฎาคม จำนวน 323,000 ตัน และเดือนสิงหาคมนี้ มีการเจรจานำเข้าเพิ่มเติมอีก 102,000 ตัน รวมนำเข้าปุ๋ยจากซาอุฯ  425,000 ตัน และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม อย่างน้อยปัญหาขาดแคลนปุ๋ยไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรื่องราคายังต้องเป็นไปตามกลไกของราคาปุ๋ยในตลาดโลก 

ซึ่งรัฐบาลจะต้องจัดโครงการปุ๋ยราคาพิเศษช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการเฉพาะ ตนได้สั่งการว่าจะทำอย่างไรให้กระทรวงเกษตรฯกับกระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกันแสวงหาแหล่งปุ๋ยราคาพิเศษ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะพยายามเต็มที่ และจัดปุ๋ยราคาพิเศษให้กลุ่มเกษตรกร แต่ละรายเป็นราคาตลาด ซึ่งตนได้สั่งการไปแล้ว สำหรับซาอุดีอาระเบียเรานำเข้าปุ๋ยได้เยอะขึ้น เร่งรัดมากกว่าช่วงที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลไฟเขียวให้โอกาสเรานำเข้ามากขึ้นเดิม นำเข้าจาก SABIC เป็นหลัก ตอนหลังให้นำเข้าจากบริษัทมาเดน (MA'ADEN) ได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมาเดน ผลิตฟอสฟอรัสเป็นหลัก ส่วน SABIC ผลิตยูเรียเป็นหลัก จะนำเข้าฟอสฟอรัสกับยูเรียได้มากขึ้น ส่วนโพแทสเซียมหาจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม

“ซึ่งโครงการปุ๋ยราคาพิเศษได้ทำมาแล้วรอบหนึ่ง โดยใช้ความร่วมมือระหว่างสมาคมปุ๋ยแห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ ปรับราคาปุ๋ยลง จากราคาตลาดกระสอบละ 20-50 บาท จำนวน 4,500,000 กระสอบ และมีอีกทางคือการช่วยสนับสนุนชดเชยราคาปุ๋ยให้กับเกษตรกรซึ่งรอการพิจารณาของฝ่ายต่างๆที่ดูแลด้านการเงินการคลังของประเทศอยู่” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แจ้งว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งปุ๋ยเคมีที่ซาอุดีอาระเบียส่งออกมากที่สุด ได้แก่ 1.ปุ๋ยผสม NPK 2.ปุ๋ยไนโตรเจน 3.ปุ๋ยโพแทสเซียม และประเทศที่ซาอุดีอาระเบียส่งออกปุ๋ยเคมีมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ บราซิล สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และไทย ผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบียคือ SABIC, Saudi Arabian Fertilizer Company (SAFCO) และ Saudi United Fertilizer Co. (Al-Asmida)







(นกพิราบศูนย์ข่าว พิจิตร) ข่าวทั่วไทยออนไลน์ น.ส.พ.ข้าแผ่นดินสยาม ข่าวคมชัด aec-tv-online  รอบวันทันข่าว น.ส.พ.เพื่อแผ่นดิน 0831671688 รายงาน


โรงเรียนตากสินจันทบุรีสอนเด็กเอาตัวรอดเมื่อติดในรถ


โรงเรียนตากสินจันทบุรีสอนเด็กเอาตัวรอดเมื่อติดในรถ  
 จากเหตุการณ์ที่มีเด็กนักเรียนติดอยู่ในรถตู้โรงเรียนแล้วเสียชีวิต ทำให้หลายโรงเรียนต้องกำชับคนขับรถรวมถึงครูเวรประจำรถต้องตรวจสอบเด็กนักเรียนให้ละเอียดมากขึ้น และสอนเด็กๆ ถึงวิธีฝึกเด็กเอาตัวรอด เมื่อติดอยู่ในรถ

ทำให้โรงเรียนตากสินศึกษาจันทบุรี ที่มีรถตู้รับส่งนักเรียนได้มีการกำชับคนขับรถ ครูเวรประจำรถในเรื่องการรัย-ส่งเด็กนักเรียน การให้คนขับรถและครูขึ้นสำรวจความเรียบร้อยบนรถก่อนนำรถเข้าจอด มีการเปิดประตูหลังรถตู้ทุกครั้งเมื่อจอด และมีการสอนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลให้ทราบถึงวิธีเอาตัวรอดหากติดอยู่ในรถ สอนให้เด็กปีนไปที่เบาะคนขับแล้วบีบแตรเพื่อขอความช่วยเหลือ 

ซึ่งระหว่างการสอนได้จำลองสถานการณ์กรณีรถตู้รับนักเรียนมาแล้วเมื่อถึงโรงเรียนคุณครูจะให้เด็กลวมาเข้าแถวเพื่อนับจำนวนก่อน หากพบว่าเด็กหายไป 1 คนก็จะเดินขึ้นไปตรวจสอบ หรือหากกรณีคุณครูลืมเด็กไว้ในรถแล้วรถได้เข้าไปจอดแล้ว เด็กตื่นขึ้นมาก็จะปีนไปบีบแตรเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ทางโรงเรียนก็ฝากถึงผู้ปกครองจะต้องพูดสอนเด็กบ่อยๆ เพราะเด็กจะค่อยๆจำและสามารถช่วยเหลือตนเองได้หากเกิดเหตุขึ้น













(สัมภาษณ์ นายไพศาล จันทสุรวงศ์)

ภาพ/ข่าวดนุชเดช ทองเปรม จันทบุรี 

สุโขทัย-ชาวแห่ดูปลาไหลสีเหลืองทอง คอหวยไม่พลาดส่องเลขเด็ดขอโชค


สุโขทัย-ชาวแห่ดูปลาไหลสีเหลืองทอง คอหวยไม่พลาดส่องเลขเด็ดขอโชค  
เมื่อเวลา13.00น.วันที่31ส.ค.ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่45/1 หมู่5 บ้านหนองยาว ต.เกาะตาเลี้ยง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นบ้านของตาประดับ แนมบาง อายุ 74 ปี และยายประดับ แนมบาง อายุ 66 ปี หลังทราบข่าวว่าที่บ้านของตาประดับมีปลาไหลแปลกซึ่งลำตัวเป็นสีเหลืองทอง มีลายจุด มาเลี้ยงไว้ จนมีชาวบ้านแห่ไปพิสูจน์กันจำนวนมาก เมื่อเดินทางไปถึงบ้านหลังดังกล่าวพบชาวบ้านจำนวนมากกำลังมุงดูปลาไหลทอง ซึ่งตาประดับ ใส่ไว้ในตู้ปลาก จากนั้นได้ยกออกมาให้ดู ปรากฏว่าภายในตู้ปลา เป็นภาพของปลาไหลตัวเขื่อง ที่มีความแปลกจากปลาไหลทั่วไปที่มีสีดำ แต่ปลาไหลตัวนี้กับเป็นปลาไหลสีเหลืองทอง มีลายจุดเป็นช่วงๆ น้ำหนักประมาณ 300 กรัม ความยาวจากหัวถึงหาง 60 เซนติเมตร ตาประดับ กล่าวว่า เวลาว่างช่วงเย็นตนออกไปดักปลาไหล ตามทุ่งนา สำหรับปลาไหลตัวนี้ เมื่อวานตอนเย้นตนได้ออกไปดักปลาและเมื่อช่วงเช้าได้ออกไปดูและพบว่ามีปลาไหลสีเหลืองทองตัวนี้ มาติดกับดักเมื่อพบครั้งแรกก็ถึงกับตะลึงในความแปลกและความสวยของปลาไหลตัวนี้ เพราะตั้งแต่เกิดมาเพิ่งเคยเห็น ซึ่งปกติแล้วปลาไหลจะมีสีดำ จึงนำกลับมาเลี้ยงจนข่าวแพร่สะพัดออกไปได้มีชาวบ้านเดินทางมาขอดูปลาไหลไม่ขาดสาย ด้านชาวบ้านที่แห่กันมาดู ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นปลาไหลเจ้าที่ ให้เลี้ยงดูให้ดีจะนำโชคมาให้เจ้าของซึ่งบางคนเห็นตัวเลขจากลายปลาไหลคือเลข 81 และ87 อีกด้วย











พงศ์เทพ สาคร สุโขทัย

กอ.รมน.จังหวัดเชียงราย เข้าพบผู้นำ อปท.ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามแผนขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติการขับเคลื่อนไตรภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


กอ.รมน.จังหวัดเชียงราย  เข้าพบผู้นำ อปท.ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามแผนขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติการขับเคลื่อนไตรภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

พันเอก พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย ปฏิบัติราชการแทน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย (ฝ่ายทหาร) มอบหมายให้ พันตรี สมเดช   ช่างนาค  รองหัวหน้ากลุ่มงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยกำลังพล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย   เข้าพบ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 ตำบล ได้แก่  นายสมเกียรติ พรมชัย นายกเทศมนตรีตำบลดอนศิลา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารตำบลดอนศิลา ณ เทศบาลตำบลดอนศิลา ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และ นายชัชพลวานิช เพชรดง นายกเทศมนตรีตำบลเม็งราย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารตำบลเม็งราย   ณ เทศบาลตำบลเม็งราย ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย  ที่ดำเนินการฝึก  ไทยอาสาป้องกันชาติ รุ่น 1 จังหวัดเชียงราย เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงเชิงปฏิบัติการ การทำงานบูรณาการเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงของ กอ.รมน. ตามแผนขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติการขับเคลื่อนไตรภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการประสานการปฏิบัติถึงโครงการดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย, ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย   และจะดำเนินการเข้าพบประสานการปฏิบัติกับ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในห้วงต่อไป 















ภาพข่าวศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3  (นกพิราบศูนย์ข่าว พิจิตร) รายงาน 0831671688


วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

นายอำเภอท่าปลาจับงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก


นายอำเภอท่าปลาจับงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565  เวลา 09.09 น. ณ หอประชุมโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา  จังหวัดอุตรดิตถ์   นายจักรพรรณ  สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา เป็นประธานเปิดงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก สำหรับอำเภอท่าปลาคือดินแดนแหล่งอารยธรรมและอดีตดินแดนล้านนาตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภออยู่ในการดูแลของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน  เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างเนินเขาและภูเขา มีอ่างเก็บน้ำเรียกกันติดปากว่าเขื่อนท่าปลา ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาติให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 มาจนปัจจุบัน

อนึ่งผลงานวิจัยหลากหลายหัวข้อจากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบันโดย การสนับสนุนงบประมาณจากไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์ และหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลงานวิจัยด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมพื้นที่อำเภอท่าปลา โดยงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีตมักถูกมองว่าจะเก็บเอาไว้บนหิ้งเสียเปล่า ทว่างานวิจัยชุดนี้เป็นงานวิจัยที่มีคุณกับเภอท่าปลาอย่างมากในอันจะนำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกจากหัวข้องานวิจัยต่างๆมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเป็นการพัฒนาพื้นที่ สร้างมูลค่าทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงแนวทางของการเสริมสร้างงานในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวในเร็วๆวัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตลาดการค้าการขายผลิตภัณฑ์ของ 7ตำบล 76 หมู่บ้าน ตอบโจทย์การกินดีอยู่ดีของพี่น้องในพื้นที่ต่างๆ นายอำเภอกล่าว

นายบรรจง  ศรีสะอาด ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ กล่าวถึงแนวการนำเสนอผลงานวิจัยด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อำเภอท่าปลา ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์ และหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน จำนวนงานวิจัยที่แล้วเสร็จและกำลังจะแล้วเสร็จ มีจำนวน 12 เรื่อง โดยนัยงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน  1.เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ 2.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น 3.เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ชุมชนมีรายได้ 4.เพื่อสร้างช่องทางการตลาดขยายฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กว้างขวางมากขึ้น

ดร.ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ นักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยถึงการเข้ามามีส่วนร่วมกับเขื่อนสิริกิติ์การลงมือทำงานวิจัยศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมชุมชน พื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์  การศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค  การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมะม่วงหิมพานต์เพื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหาดไก่ต้อย 

ขณะเดียวกันยังมีเพื่อนักวิจัยต่างสถาบัน10กว่าสถาบันที่เข้ามาร่วมกิจกรรมงานวิจัยตัวอย่างเช่น เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำเสนอ การศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนบ้านห้วยต้าแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์กรณี การสร้างถนนริมขอบอ่างเก็บน้ำจากบ้านนางพญาไปสู่ บ้านห้วยต้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำเสนอการเพาะพันธุ์และเลี้ยงปลาตะโกกแบบผสมผสานในพื้นที่รอบเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อเพิ่มรายได้แบบยั่งยืน หรือมูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี นำเสนอ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลเพิ่มโดยใช้วัตถุดิบเหลือทิ้ง จากกระบวนการผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ของเกษตรกรอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากการไฟฟ้ำฝ่ำยผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์  นักวิจัยอาวุโสกล่าวในท้ายที่สุด




















นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน